แนวทางการจำแนก เอเชียอโรวาน่า เิชิงวิชาการ

สวัสดีครับ

หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับ ปลาอโรวาน่า เชิงวิชาการ ไปแล้ว
มีผู้เลี้ยงหลายท่านได้เข้ามาอ่าน
สัปดาห์นี้จึงคิดว่า อยากจะลงข้อมูลเชิงวิชาการอีกซักหน่อยนะครับ

ข้อมูล แนวทางการจำแนก เอเซียอโรวาน่า เชิงวิชาการนี้
ได้มาจาก คุณจิรขัย ในเว็บบอร์ดของ pantown ครับ
ผมคิดน่าจะมีประโยชน์พอสมควร
กับทั้งผู้เลี้ยงปลาอโรวาน่ามานานแล้วหรือว่าผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเลี้ยงปลามังกรครับ
ยังไงลองศึกษาดูนะครับ

เริ่มแรก ผมคงจะต้องขอชี้แจงว่า รายงานการบรรยายนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์นำไปสู่การขัดแย้ง
เพียงต้องการสื่อให้ทราบว่า ณ.ปัจจุบันกลุ่มปลาชนิดนี้มีการจำแนกออกมาจากเดิมคือจาก Scleropages formosus (Müller & Schlegel 1844) ที่ใช้เรียกรวม อะโรวาน่าทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด จำแนกเพิ่มออกมาอีก ชนิด และผลจากการจำแนกนี้เป็นที่ยอมรับกันทางสากล รายงานการบรรยายนี้หลายท่านคงมีการดาวน์โหลดไว้แล้ว
ในส่วนนี้ผมจึงขอนำมาเขียนให้กับผู้ชมที่ไม่มีเวลามานั่งแปล หรือ ไม่ทราบรายละเอียดในโครงสร้างของปลาบางอย่าง หากขาดตกบกพร่องประการใด ผมขอโทษไว้ ณ.ที่นี้ด้วยน่ะครับ.

จากรายงาน ณ.ปัจจุบัน เอเชียอะโรวาน่ามีการจำแนกออกเป็น ชนิดดังต่อไปนี้ครับ.
1) Scleropages formosus (Müller & Schlegel 1844) 
2) Scleropages aureus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 
3) Scleropages macrocephalus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 
4) Scleropages legendrei Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 

ในการจำแนกจากลักษณะภายนอกของปลาเอเชียอะโรวาน่า เท่าที่ดูจากในรายละเอียด ทางอาจารย์ผู้บรรยายจะพูดถึง ความยาวของกระดูกขากรรไกรบน(The upper jaw length.) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว (lateral line scales.) ; จำนวนก้านครีบต่างๆ ( Rays.) หรือจะเทียบเป็น %ของความยาวส่วนต่างๆตามร่างกาย ต่อ ความยาวมาตรฐาน เช่น ความยาวมาตรฐาน หรือ ความยาวส่วนหัว เป็นต้น.

  • Scleropages formosus (Müller & Schlegel 1844) สะ- เคลอร์-โอ-พา-กีส ฟอร์-โม-ซัส 

ฟอร์โมซัส คำนี้มาจาก ฟอร์โมซา หากแปลความหมายจากภาษาโปรตุเกส แปลว่า สวยงาม หรือ Beautiful. แต่ถ้าใช้เป็นคำนาม ยิ่งนำมาเกี่ยวโยงกับปลาชนิดนี้ด้วยละก้อ สร้างความงุนงงครับ แต่มีความหมายนึง ที่น่าสนใจ คือ เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่นอกผืนดินของจีน ออกไปราว 100ไมล์ ในทะเลจีนใต้. จากแหล่งที่มา ทำให้พิจารณาได้ว่าต้องการที่จะสื่อถึงปลา อะโรวาน่าเขียว (Green Arowana.) หรือ Asian bonytongue. 

การกระจาย : พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ ทางตอนใต้ของไทย , กัมพูชา , ทางใต้ของเวียตนาม , คาบสมุทรมาเลย์ และส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำในสุมาตรา และ บอร์เนียว. ปลาชนิดนี้ ตัวผู้จะดูแลไข่ในปาก จนกว่าไข่แดงของลูกปลาจะหมดไปหลังจากการฟักเป็นตัวเสร็จสิ้นแล้ว จากรายงานระบุว่า ในฟารม์ การเพาะฟักครั้งนึงอาจจะให้ไข่ได้ในราว 50-150 ฟองทีเดียว.

ลักษณะภายนอก : มีจำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 23-26 เกล็ด ; ครีบก้น = 25-28 ก้านครีบ ; ครีบหลัง =17-19 ก้านครีบ ; กระดูกขากรรไกรบนจะยาวมากคือ ยาวเกินขอบตาหลังไปมาก วัดได้ในราว 106.2-109.2% ของความยาวส่วนหัว. ; ,มีครีบหูที่ยาว.หากนำมาคำนวณ = 3 ของความยาวลำตัวมาตรฐาน ซึ่งยื่นยาวได้ถึงฐานครีบท้อง.

  • Scleropages aureus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 สะ- เคลอร์-โอ-พา-กีส ออ-รี-อุส 

ออรีอุส Aureus : หมายถึง สีทอง (gold coloration.) ดังนั้น ทางอาจารย์ที่บรรยาย ต้องการที่จะสื่อถึง เรดเทลล์โกลด์เด้น อะโรวาน่า (Red Tail Golden Arowana ) หรือ อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย (Indonesian Golden.) 

การกระจาย : ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้พบใน แม่น้ำ Siak และ แม่น้ำBatanghari ในสุมาตรา อินโดนีเซีย.

ลักษณะภายนอก : มีจำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 24-26 เกล็ด ; ครีบก้น = 26-28 ก้านครีบ ; ครีบหลัง =15-20 ก้านครีบ ; กระดูกขากรรไกรบนสั้น คือ ยาวไม่ถึงขอบหลังของตา วัดได้ในราว 99.1-101.8% ของความยาวส่วนหัว. ; ,มีครีบหูที่ยาว.หากนำมาคำนวณ = 3 ของความยาวลำตัวมาตรฐาน ซึ่งยื่นยาวได้ถึงฐานครีบท้อง.

  • Scleropages macrocephalus Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 สะ- เคลอร์-โอ-พา-กีส แมค-โร-เซฟ-อา-ลัส. 

แมค-โร-เซฟ-อา-ลัส. Macrocephalus คำนี้คงต้องการจะสื่อถึง หัวที่กำยำแข็งแรง (robust head) หากในภาษาอังกฤษ คำว่า robust หมายถึง แข็งแรง จากความหมายทั้งหมด เป็นตัวแทนของอะโรวาน่าอินโดนีเซียอีกชนิด คือ ซิ ลเวอร์อินโดนีเซียอะโรวาน่า (Silver Indonesian Arowana) ; ปลาอะวาน่าที่พบใน Pinoh ก็จะเป็น ซิลเวอร์อินโดนีเซียอะโรวาน่า แต่เป็น หางเทา หรือ เกรย์เทลล์ (Grey-tailed variety.) ส่วน ซิลเวอร์ อินโดนีเซียอะโรวาน่า ที่พบใน Kuning Banjar จะเป็น หางเหลือง หรือ เยลโล่เทลล์ (Yellow-tailed variety.) 

การกระจาย : พบบริเวณบอร์เนียวกลาง ในแม่น้ำ Barito. และทางบอร์เนียวตะวันตก ในแม่น้ำ Melawi และแม่น้ำ Pinoh. ซึ่งทั้งสองแม่น้ำนี้เป็นสาขาย่อยของ แม่น้ำคา เพาวส์. ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้พบได้ในน้ำไหลตั้งแต่ลำธาร ไปถึงแม่น้ำที่ขุ่นมัว ตัวผู้จะมีหน้าที่ดูแลและอมไข่ แต่ไข่ของปลาชนิดนี้ค่อนข้างจะใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.38 – 1.58 ซม.ทีเดียว.

ลักษณะภายนอก : มีจำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 21-26 เกล็ด ; ครีบก้น = 24-27 ก้านครีบ ; ครีบหลัง =17-19 ก้านครีบ ; กระดูกขากรรไกรบนยาวถึงขอบหลังของตา วัดได้ในราว 106.3-108.9% ของความยาวส่วนหัว. ; ,มีครีบหูที่ยาว.หากนำมาคำนวณ = 3 ของความยาวลำตัวมาตรฐาน แต่ยาว ไม่ถึงฐานครีบท้อง.

  • Scleropages legendrei Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003 สะ- เคลอร์-โอ-พา-กีส ลี-เจน-ดรีย์-อาย. 

ลี-เจน-ดรีย์-อาย. Legendrei เป็นชื่อชนิดที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักวิจัยอาวุโสชาวฝรั่งเศส ท่านอาจารย์ Marc Legendre .ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ อะโรวาน่าอินโดนีเซียซุปเปอร์เรด , ชิลลี่เรด หรือ บลัด (Super Red , Chili or Blood Indonesian Arowana.) 

การกระจาย : อาศัยในน้ำที่มีสภาพเป็นกรด (Ph น้อยกว่า 5.5) หรือ แบล็ควอเธอร์ แถบทะเลสาปขนาดเล็กในป่าบริเวณขอบๆทะเลสาป Sentarum. ซึ่งอยู่ทางตอนบนๆซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำคาเพาวส์ ทางบอร์เนียวตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย.

ลักษณะภายนอก : มีจำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 23-25 เกล็ด ; ครีบก้น = 25-27 ก้านครีบ ; ครีบหลัง =17-19 ก้านครีบ ; กระดูกขากรรไกรบนสั้นที่สุดในบรรดาทั้ง4ชนิด คือยาวถึงแค่กึ่งกลาง ของตา วัดได้ในราว 95.9-97.7% ของความยาวส่วนหัว. ; ความยาวของครีบหู หากนำมาคำนวณ = 3-3.5 ของความยาวลำตัวมาตรฐาน แต่ยาว ไม่ถึง ฐานครีบท้อง.

ถึงตรงนี้ หวังว่าเพื่อนๆผู้เลี้ยงจะได้ความรู้เพิ่มเติมกันไม่มากก็น้อยนะครับ

ตั้น
Emperor Arowana
จักรพรรดิปลามังกรทอง
www.emperorarowana.com

ข้อมูลปลาอโรวาน่าเชิงวิชาการ

สวัสดีครับ

วันนี้ผมมีข้อมูลของปลาอโรวาน่าเชิงวิชาการมาฝากครับ
เป็นข้อมูลที่ผมได้มาจากเว็บไซต์ของ ด.ช.ฐาปกรณ์ นาชัยเพชร ชั้น ม.1/8 เลขที่ 8
อาจจะเป็นข้อมูลที่ผู้เลี้ยงปลาบางท่่านทราบแล้ว หรือ
อาจจะเป็นข้อมูลเชิงลึกให้กับอีกหลายๆท่านนะครับ
ยังไงลองศึกษาดูนะครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีวิวัฒนาการจากปลาโบราณเพียงเล็กน้อย จึงมี

ลักษณะคล้ายปลาโบราณ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosusอยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

สำหรับชื่อ “ตะพัด” เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า “หางเข้” ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิธที่ลำน้ำเขาสมิง จังหวัดตราด โดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ ฟักไข่ในปาก เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมใช้ทำเป็นอาหาร

ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอ โดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า “กรือซอ” แต่จากการจับอย่างมากในอดีต ทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์

ลักษณะ
ปลาอโรวาน่าลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาอโรวาน่า ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร

ที่อยู่
ปลาอะโรวาน่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ มักอาศัยอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ ถ้าอยู่เป็นฝูง ก็จะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว พบได้ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ของปลาอะโรวาน่า เช่น สีทอง สีแดง สีเงิน สีทองอ่อน เป็นต้น

การเลี้ยง
ปลามังกร หรือ ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย “มังกร” นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่า โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลามังกรชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด

สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง

  • อะโรวาน่าเขียว (Green Arowana คือปลาตะพัดนี่เอง)
  • อะโรวาน่าแดงอินโดนีเซีย (Super Red) เป็นปลาที่มีสีแดงสดทั้งตัว ทั้งครีบและหาง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ในแถบทะเลสาบขนาดเล็กในป่าบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเซนทารัม ซึ่งอยู่ทางตอนบนซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำคาปัวส์ ทางบอร์เนียวตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH น้อยกว่า 5.5) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีราคาสูงรองลงมาจากอะโรวาน่าทองมาเลย์

ในตัวที่มีสีแดงตัดขอบเกล็ดคมชัดเจน เรียกว่า ชิลลี่ เรด (Chili Red) ตัวที่มีสีแดงทั้งตัว เรียกว่า บลัด เรด (Blood Red) หรือในบางตัวมีเหลือบสีม่วงในเกล็ด เรียกว่า ไวโอเล็ท ฟิวชั่น (Violet Fusion) ทั้งนี้สีปลาอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและผู้เลี้ยง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในประเทศอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน แต่พบคนละแหล่งน้ำ คือ เรด บี (Red B) หรือ บันจา เรด (Banja Red) (แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกเรียกว่า เรด อะโรวาน่า ((Red Arowana)) ซึ่งเมื่อยังเล็กจะมีสีแดงสดเหมือนปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นสีจะซีดลง จนเกล็ดมีเพียงสีเงินเหลือบเหลืองอ่อน ๆ สีครีบและหางเป็นสีเหลืองปนส้มเท่านั้น แลดูคล้ายปลาทองอ่อน และเป็นปลาที่มีราคาต่ำกว่า

ปัจจุบัน ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับอะโรวาน่าทองมาเลย์ เป็นปลาลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทั้ง 2 ที่มีสีทองแดง เรียกว่า เรด สเปลนเดอร์ (Red Splendor)

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาอะโรวาน่าแดงอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหาก โดยเรียกว่า Scleropages legendrei แต่ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลเท่าที่ควร

  • อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย (Red Tail Golden Arowana) เป็นปลาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก หากเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่พบในเอเชียด้วยกัน อีกทั้งมีความสวยงามมีสีทองเข้ม ครีบอก กระโดงต่าง ๆ และหาง มีสีแดงสด ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเรียก ว่า Red Tail Golden (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า RTG) ครีบหลังและหางส่วนบนจะมีสีแดงคล้ำปนดำ บนหลังจะมีเกล็ดสีดำ เกล็ดสีทองจะมีขึ้นมาถึงเกล็ดแถวที่ 4 และอาจจะมีขึ้นประปรายบ้างบนแถวที่ 5 เรียกว่า ไฮแบ็ค (Hight Back) ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ (Cross Breed) กับอะโรวาน่าทองมาเลย์จนได้สายพันธุ์ปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า ไฮแบ็ค มากขึ้น โดยเกล็ดเงางามขึ้น และเกล็ดเปิดถึงแถวที่ 5 ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีสายพันธุ์ที่สีอ่อนกว่า เมื่อเล็กมีลักษณะคล้ายปลาตะพัดหรืออะโรวาน่าเขียวมาก โตขึ้นครีบมีสีใสและเกล็ดเป็นสีเงินปนเหลืองอ่อน ๆ เรียกว่า “ทองอ่อน” และตัวใดที่ครีบมีสีเหลืองเข้มขึ้นมาหน่อย ก็จะถูกเรียกว่า “ทองหางเหลือง” (Yellow Tail) เป็นต้น

เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเชีย บริเวณบอร์เนียวเหนือ และเกาะสุมาตรา และส่วนของทางหางเหลืองก็อยู่ในแหล่งน้ำที่ต่างจากทองอินโดนีเซีย

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโรวาน่าทองอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหากว่า Scleropages aureu และในส่วนของทองหางเหลืองก็ได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แยกออกมาอีกว่า Scleropages macrocephalus ในปี ค.ศ. 2003[1]

  • อะโรวาน่าทองมาเลย์ (Malayan Bonytongue, Cross Back) ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แถบรัฐปะหัง เประ และมาเลเซียตะวันตก เป็นสายพันธุ์ของอะโรวาน่าที่มีราคาแพงที่สุด โดยอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีทองสดใสที่สุด เกล็ดมีความเงางามมาก เมื่อปลาโตเต็มวัยจะสีทองจะเปิดสูงข้ามบริเวณส่วนหลัง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Cross Back

อีกทั้งในบางตัวยังมีฐานสีที่บริเวณเกล็ดเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินเรียก ว่า บลูเบส (Blue Base) ในบางตัวที่มีฐานเกล็ดเป็นสีเขียวเรียกว่า กรีนเบส (Green Base) ในขณะที่ตัวที่มีสีทองเหลืองอร่ามทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนจะเรียกว่า ฟูลโกลด์ (Full Gold)

อะโรวาน่าทองมาเลย์ เมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่น ๆ จะพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งครีบและหางเล็กกว่า แต่มีสีสันที่สวยที่สุด

ไฮแบ็ค (Hight Back) เป็นปลาลูกผสมระหว่างทองอินโดนีเซียกับทองมาเลย์ ทำให้ลูกปลาที่เกิดออกมามีส่วสนเด่นของทั้งสองสายพันธุ์ คือ มีเกล็ดที่แวววาวกว่าทองอินโดทั่วไปและสีทองของเกล็ดจะเปิดถึงแถวที่ 5 มากกว่าทองอินโดปกติ

ชื่อเรียกในภาษาต่าง ๆ
ตะพัด (ภาษาภาคตะวันออก)
หางเข้ (ภาษาใต้)
กรือซอ (ภาษายาวี)
เคเลซ่า (ภาษามาเลย์)
โคโลโซ่ (ภาษาอินโดนีเซีย)
อะโรวาน่า (Arowana-ภาษาอังกฤษ-ชื่อที่เรียกทั่วไป)
มังกร (อีกชื่อที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป)
เล้งฮื้อ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว)

อ้างอิง
หนังสือคู่มือเลี้ยงปลาอะโรวาน่า โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (พ.ศ. 2540) ISBN 974-86869-5-7

ตั้น
Emperor Arowana
จักรพรรดิปลามังกรทอง
www.emperorarowana.com

Drama Manchester City

สวัสดีครับ

” ช็อกโลก!เรือยิง 2 เม็ดทดเจ็บแซง Q.P.R คว้าแชมป์พรีเมียร์ ”
เป็นหัวข้อข่าวที่ทำผมออกอาการ งง อย่างแรงครับ
อย่างที่ทราบกันนะครับ
วันนี้ก่อนการแข่งจะเริ่มต้น Man City และ Man U มีคะแนนเท่ากัน
ถ้า Man City ชนะ ก็จะได้แชมป์ไปครอง โดยไม่ต้องสนใจผลการแข่งขันของ Man U
และ จะเป็นแชมป์ครั้งแรกในรอบ 44 ปี ของสโมสรครับ
ทืมที่ลุ้นแชมป์กำลังจะเจอกับทืมที่หนึตกชั้นครับ
ภาษีต่างกันมากมายจริงๆครับ

จบครึ่งแรก Man City นำอยู่ 1-0 ครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมาย
แต่แล้วเรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นครับ
Q.P.R. ยิงตามมา 1-1 และแซงขึ้นนำเป็น 1-2
จริงๆผมไม่ค่อยได้สนใจผลการแข่งขันคู่นี้  เพราะว่าโดยส่วนตัวแล้ว ผมชอบ Real Madrid ครับ
ดูผลฟุตบอลจนนาที 89 ซึ่งก็คิดว่าจบแล้ว
จึง sms ไปแสดงความยินดีกับเพื่อนที่เป็นสาวกผีแดงครับ
แต่ว่าเพื่อนผม sms กลับมา ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไหร่
เลยไปเปิดดูผลการแข่งอีกครั้ง
งง ครับ
Man City ชนะครับ
พอดูรายละเอียด Man City ยิงนาที 90 ครับ
ด้วยนาทีนี้ ผลน่าจะออกมาเสมอ ซึ่งจะทำให้ Man U ได้แชมป์
แต่ป่าวครับ..Man City ยิงอีกลูก นาที 90+4
ทำให้ในที่สุด Man City ได้แชมป์ไปครองจนได้ครับ
อันนี้ ถือว่าเป็นเรื่อง Drama สำหรับ Man City จริงๆครับ

แต่ถ้าเป็น Drama ของผู้เลี้ยงปลามังกรอย่างเราๆ น่าจะเป็นการเจอ อาการปลาป่วยนะครับ
แต่จะ Drama มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผลที่เกิดขึ้นกับผู้เลี้ยงแต่ละท่านแล้วครับ

วันนี้ผมขอจบเรื่องแค่นี้นะครับ
ขอไป Drama ในกระแสกับ Man City ก่อนครับ

ตั้น
Emperor Arowana
จักรพรรดิปลามังกรทอง
www.emperorarowana.com

Emperor Arowana : จักรพรรดิปลามังกรทอง

สวัสดีครับ

วันเสาร์ี ที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2555 (5/5/55)
ผมถือว่าเป็นวันที่น่าจดจำอีกหนึ่งวันในชีวิตของผมเลยครับ
มีสิ่งใหม่ๆหลายๆสิ่ง ที่ผมได้เริ่มต้นกับมันในวันนี้
(จริงๆแล้วเริ่มต้นมานานแล้ว แต่ถือว่าวันนี้เป็นวันเปิดตัว)

1. ผมได้ทำตู้ปลา, บ่อปลา ใหม่ ที่บ้านใหม่ของผม
2. ปลาัมังกรทองชุดใหม่ที่ผมตั้งใจไปเลือก ก็ได้เข้ามาแล้ว ซึ่งพร้อมให้เพื่อนๆผู้เลี้ยงที่สนใจเข้ามาแวะเวียน,ติ,ชม
3.  ผมได้เปิดตัวเว็บไซต์ http://www.emperorarowana.com
ซึ่งผมตั้งใจว่า ในอนาคตเว็บไซต์นี้จะเป็นแหล่งข้อมูล,ข่าวสารอีกแหล่งหนึ่งให้เพื่อนๆผู้เลี้ยงที่สนใจเข้ามาหาข้อมูลหรือพูดคุยกันได้

สำหรับ “เรื่องเล่าของตั้น” ในสัปดาห์นี้
ขอแค่นี้ก่อนนะครับ
ผมยังต้องดูแลปลาที่เข้ามาใหม่อีกเพียบเลยครับ
แล้วจะมาอัพเดทเรื่องราวต่างๆที่ผมได้เจอมาในภายหลังนะครับ

ตั้น
Emperor Arowana
จักรพรรดิปลามังกรทอง
www.emperorarowana.com